วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2552

ชื่อบริษัท A&P จำกัด


ประวัติบริษัท

บริษัท A&P จำกัด ก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2550 โดยเน้นให้เห็นความสำคัญของธรรมชาติและการหันมาอนุรักษ์ธรรมชาติ โดยมุ่งเน้นไปที่ปัญหาในปัจจุบัน คือ การเกิดสภาวะโลกร้อนเพราะคนเราทำลายทรัพยากรและนำทรัพยากรมาใช้อย่างไม่คุมค่าทำให้เราคิดจะทำประดิษฐ์เครื่องใช้ที่ประหยัดพลังงานธรรมชาติขึ้นมาจำหน่ายในท้องตลาด โดยเน้นไปที่พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อจะนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและนำมาใช้ในการตกแต่งสถานที่ เช่นการจัดสวน
ดังนั้นบริษัท A&P มีนโยบายที่จะมุงเน้นในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ทำให้ทุกคนหันมาอนุรักษ์ธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์ตัวแรกของบริษัทเราคือ ตะเกียงพลังงานแสงอาทิตย์

กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

- กลุ่มลูกค้าที่อนุรักษ์พลังงานธรรมชาติและกลุ่มนักจัดสวนตามสถานที่ต่างๆ

การวิเคราะห์ส่วนผสมทางการตลาด(4P’s)ของตะเกียงพลังงานแสงอาทิตย์

- Product (สินค้า) เป็นตะเกียงที่มีความแตกต่างจากตะเกียงชั่วไปโดยมีการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้งานแทนถ่านและที่ชาร์ตแบตเตอร์รี่

- Pice (ราคา) ราคา 259 บาท นั้นถือว่ามีราคาไม่ต่ำและไม่สูงเกินไปเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับการใช้งานที่คุมมค่า

- Place (ช่องทางการจัดจำหน่าย) สำหรับบุคคลที่รักธรรมชาติและเห็นความสำคัญของสภาวะโลกร้อนและนักจัดสวน

- Promotion (การส่งเสริมการตลาด)
1. มีการโฆษณาและประชาสัมพันธ์
2. มีพนักงานขายคอยให้คำแนะนำเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์
3. มีการใช้โปรโมชั่นลดราคาสินค้า

วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552

ลักษณะการพยากรณ์การตลาด

การพยากรณ์การตลาดมีความต้องการในสินค้าของธุรกิจ จะสามารถแบ่งออกได้เป็นการพยากรณ์ 3 ประเภท โดยพิจารณาจากระยะเวลา
1. การพยากรณ์ในระยะสั้น
2. การพยากรณ์ในระยะปานกลาง
3. การพยากรณ์ในระยะยาว
เราจะใช้การพยากรณ์ในระยะยาว จะพยากรณ์ทุก 3-5 ปีโดยมีรายละเอียดการพยากรณ์ทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ ตะเกียงพลังงานแสงอาทิตย์

การวิเคราะห์ธุรกิจตะเกียงพลังงานแสงอาทิตย์ใน 3 ข้างหน้า

การจัดทำแผ่นการตลาด
ด้านการตลาด(Markets)
เราจะขายตะเกียงพลังงานแสงอาทิตย์ในตลาดของผู้บริโภคที่อนุรักษ์ธรรมชาติและเห็นความสำคัญของสภาวะโลกร้อนและนักจัดสวน โดยเรามีส่วนแบ่งทางการตลาด คือ เลือกตลาดทางเดียว(Single Segment Concentration)เพื่อจะนำสินค้าไปตอบสนองความต้องการของลูกค้าทางเดียว บริษัทของเราได้สร้างความแตกต่างเหนือคู่แข่งโดยการใช้พลังงานแสงอาทิตย์แทนการใช้ถ่านและชาร์ตแบตเตอร์รี่

ด้านผลิตภัณฑ์(Product)
มีการผลิตตะเกียงพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายโดยมีการจัดจำหน่ายสินค้าโดยการประชาสัมพันธ์ และออกบูลเพื่อให้ลูกค้าได้ศึกษาและทำลองสินค้าโดยตะเกียงพลังงานแสงอาทิตย์นี้มีราคาที่ไม่สู่และต่ำจนเกินไปเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้งานที่คุมค่า

ด้านราคา(Price)
มีการตั้งราคาอยู่ที่ตัวเลขประมาณ 259 บาท/เครื่อง โดยใช้กลยุทธ์ทางตัวเลขเข้ามาช่วยในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคเกิดความอ่อนไหว เมื่อเปรียบเทียบกับประสิทธิภาพในการใช้งานก็ถือว่าคุมค่ากับเงินที่จะต้องจ่ายออกไป

ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย(Diatribution)
เราจะใช้ช่องทางการจัดจำหน่ายโดยการประชาสัมพัทธ์และโฆษณา มีการทดลองใช้สินค้าเพื่อให้ง่ายต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค เพราะว่าลูกค้าของเรามีเป็นกลุ่มๆและมีความคิดไปในทางเดียวกันและสามารถครอบคลุมได้เกือบทั้งหมด

ด้านการส่งเสริมผลิตภัณฑ์(Promotion)
มีการโฆษณา และ ประชาสัมพัทธ์ ใช้พนักงานขายตามจุดต่างๆเพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับตัวสินค้า
และโปรโมชั่น ลด แลก แจก แถม

ด้านทรัพยากร(Resources)
มีการใช้อุปกรณ์อย่างคุมค่าและให้เกิดประโยชน์ที่สูงสุด และบริษัทของเรานำทรัพยากรมาใช้แทนเทคโนโลยีทำให้สามารถลดต้นทุนในการผลิตสินค้า

ด้านสภาพแวดล้อม(Environment)
สภาพแวดล้อมต่างๆในการดำเนินธุรกิจ มีการเปรียบแปลงไปในทางที่ดีขึ้นทั้งเศรษฐ์กิจ สังคม การเมือง เป็นต้น ถ้าทั้งหมดที่กล่าวมาเราสามารถที่จะความคุมได้ก็จะไม่มีผลกระทบต่อธุรกิจในอนาคต ความเป็นไปในการขยายธุรกิจมีความเป็นไปได้สูง คู่แข่งอาจจะไม่มากเพราะเราได้สร้างเอกลักษณ์ ทำให้คู่แข่งไม่สามารถเรียนแบบได้ เพราะอาจจะมีความผิดทางกฎหมาย

กลยุทธ์วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์(Product Life Cycle: PLC) ของตะเกียงพลังงานแสงอาทิตย์

กลยุทธ์วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์(Product Life Cycle: PLC)หมายถึง วิถีทางยอดขายและกำไรของกิจการตลอดช่วงชีวิตของผลิตภัณฑ์มี 5 ขั้นตอนดังนี้
1. ขั้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์(Product Development)เริ่มต้นตั้งแต่กิจการค้นหาและพัฒนาเกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์ใหม่ในขั้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่นี้ ยอดขายเท่ากับ 0 กิจการต้องใช้เงินลงทุนมากในขั้นนี้บริษัทเราได้ทำการคิดค้นผลิตภัณฑ์ เพื่อต้องสนองความต้องการของผู้บริโภค
2. ขั้นแนะนำผลิตภัณฑ์ (Introduction)เป็นช่วงที่ยอดขายเจริญเติบโตอย่างช้าๆ ขณะที่กิจการแนะนำผลิตภัณฑ์เข้าสู่ทางตลาดขั้นนี้ยังไม่มีอะไรเพราะมีค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก
3. ขั้นเจริญเติบโต(Growth)เป็นช่วงที่ตลาดยอมรับผลิตภัณฑ์อย่างรวดเร็วและทำให้มีกำไรเพิ่มขึ้นในช่วงนี้บริษัทได้มียอดขายเพิ่มเพราะเราได้ทำการนำเสนอตะเกียงพลังงานแสงอาทิตย์ทำให้ลูกค้าเกิดการตอบรับมาเป็นอย่างดีเพราะว่าสะดวกและใช้ง่ายต่อการใช้งาน
4. ขั้นเจริญเติบโตเต็มที่หรืออิ่มตัว (Maturity)ในช่วงนี้อัตราการการเจริญเติมโตของยอดขาย ชะลอตัว เนื่องจากลูกค้าส่วนใหญ่รู้จักและยอมรับในผลิตภัณฑ์ แล้วกำไรต่ำลงเนื่องจาก กิจการต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายทางการตลาดเพื่อปกป้องผลิตภัณฑ์ เพื่อให้พ้นจากการแข่งขันการ ปฎิบัติต่อไปของบริษัทคือการประชาสัมพัทธ์พร้อมกับดัดแปลงผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มลูกค้าและป้องการการแข่งขันจากคู่แข่ง
5. ขั้นถดถอย(Decline)เป็นช่วงที่ยอดขายและกำไรลดลงอย่างลวดเร็วและในช่วงนี้บริษัทต้อง คิดค้นวิธีที่จะปล่อยให้สินค้าตายไปเลยหรือจะคิดค้นผลิตภัณฑ์ตัวใหม่มาทดแทนเราได้คิด ทำ พัดลมพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อจะได้มีกำไรต่อไปโดยไม่ขาดทุน

ขั้นตอนวิธีการทำ

1.นำตะเกียงมาแล้วถอดชุดน้ำมันตะเกียงออก

2.น้ำหลอดไฟใส่แทนชุดน้ำมันตะเกียง

3.เอาโซล่าเซลล์มาดัดแปลงใส่ตะเกียง


4.เดินสายจากโซล่าเซลล์มาใส่ฐานตะเกียงเจ้าพายุ



5.ใส่หลอด LED แทนใส่น้ำมัน










6.น้ำหมวกครอบไฟมาครอบหลอดไฟ LED

























7.น้ำโซล่าเซลล์มาไว้ข้างบนตะเกียงเพื่อรับแสงแดด















8.เก็บสายไฟที่เดินให้เรียบร้อย

งบประมาณ

1.ตะเกียงเจ้าพายุ 1 อัน 90 บาท
2.แผงโซล่าเซลล์ 1 อัน 100 บาท
3.สายไฟ 20 บาท
4.หลอดไฟ LED 15 บาท
ยอดรวมค่าใช้จ่าย
225 บาท

สมาชิกกลุ่ม

1. นายพืชมงคล ทองคำสุก 50132793013
2. นายนิพนธ์ ภิรมย์เจียว 50132793016
3. นางสาวจุฑีรัตน์ มั่นคง 50132793019
4. นายทศพล อ่อนคำ 50132793039
5. นางสาวบุษยมาศ ฉลองบุญ 50132793040